อโกรเมด
agromed.co.th
อโกรเมดยาสัตว์
ขายยาสัตว์ ผลิตยาสัตว์ อาหารสัตว์
agromed
ขายยาสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ รูปภาพ ข่าวสารสัตว์ บทความเกี่ยวกับสัตว์ บริษัทอโกรเมด อโกรเมด
agromed
สินค้ายาสัตว์ขายดี
คลีนฟาร์ม
อโกรมิกซ์ พรีสตาร์ทเตอร์ / สตาร์ทเตอร์
โปรไซม์ เอ็กซ์พี
ไซคลอซอล 200 แอล เอ
ท็อกซี่-นิล พลัส ดราย
ยาสัตว์ขายดี
ยาสัตว์
ข่าวยาสัตว์
จับตาปลดล็อก'หมูเร่งเนื้อแดง'

          ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา สภาผู้ผลิตสุกรของสหรัฐอเมริกาได้ยื่นคำร้องขอให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) พิจารณาตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สำหรับประเทศไทย ภายใต้กรณีการพิจารณาการดำเนินการของประเทศที่ได้รับสิทธิ (Country Practice Reviews) เนื่องจากไทยไม่เข้าข่ายคุณสมบัติประเทศผู้ได้รับสิทธิด้านการเปิดตลาดสินค้าให้แก่สหรัฐฯ อย่างเป็นธรรมและสมเหตุผล เพราะไทยห้ามนำเข้าเนื้อสุกรของสหรัฐฯ ที่มีสารเร่งเนื้อแดงแรคโตพามีนตกค้าง แม้ไทยได้เคย แจ้งกับสหรัฐฯ ว่าจะแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับรองมาตรฐานสารตกค้างสูงสุดของสารเร่งเนื้อ แดงดังกล่าวที่ CODEX (โครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ) กำหนด

          สำหรับการยื่นคำร้องดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากที่เมื่อเร็วๆ นี้ ไทยเข้าประชุมคณะกรรมการภายใต้ความตกลงด้านการค้าและการลงทุนไทยสหรัฐอเมริกา (TIFA) โดยหนึ่ง ในประเด็นที่หารือกันครั้งนี้ คือ สหรัฐฯ ได้เร่งรัดให้ไทยพิจารณาการนำเข้าเนื้อหมูและเครื่องในที่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยง

          ทั้งนี้ USTR จะประกาศว่าจะรับพิจารณาคำร้องของสภาผู้ผลิตสุกรของสหรัฐฯ หรือไม่ประมาณกลางเดือน พ.ค.นี้ โดยหากรับพิจารณาจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประมาณเดือน มิ.ย.นี้ และจะประกาศผลการพิจารณาว่าจะยุติการทบทวน หรือให้ประเทศไทยดำเนินการเพื่อเปิดตลาดเนื้อหมูและเครื่องในให้แก่สหรัฐฯ อย่างเป็นธรรมและสมเหตุผลหรือไม่ อย่างไร ภายในเดือน ต.ค.นี้

          นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวว่า ไทยมีแผนปฏิบัติการด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองแรงงานที่มีความคืบหน้ามาก จึงเชื่อว่าไทยยังคงได้รับสิทธิต่อไป เพราะ 2 ประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาอย่างยาวนาน

          อย่างไรก็ตาม ล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ระบุว่าจะตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เพื่อพิจารณาในเรื่องนี้ และจะทำการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเนื้อหมูของคนไทย เพราะคนไทยรับประทานทุกอย่างของหมู ทั้งตับไตไส้พุง แต่สหรัฐฯ บริโภค เฉพาะเนื้อหมู โดยจะศึกษาว่า การบริโภคของคนไทยจะได้รับผล กระทบจากสารเร่งเนื้อแดงหรือไม่ โดยมีระยะเวลาการศึกษา 1 ปี และจะยังไม่มีการนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐฯ ในช่วงนี้.

ที่มา : ไทยโพสต์ 30-04-2018

 
 
บริษัท อโกรเมด จำกัด 283 - 285 ถ. เพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160 โทร. (02) 809-7254-9 โทรสาร. (02) 809-7260
AGROMED CO., LTD. 283 – 285 PETCHKASEM ROAD , NONGKANGPLU , NONGKEAM , BANGKOK 10160 E-mail : support@agromed.co.th
Copy All Right Reserved 2012 By. agromed.co.th
Creator By cw.in.th